หน้าหลัก

ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ ทำเนียบผู้บริหาร ติดต่อหน่วยงาน
 
 จากความต้องการของราษฎรและเจ้าหน้าที่ปกครองจะให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการชลประทานแบบที่กระทำอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือ รัฐบาลจึงได้สั่งให้กรมชลประทานเปิดการชลประทานขึ้นในภาคนี้ โดยเริ่มสำรวจสภาพน้ำและสภาพภูมิประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณา วางโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2477 และเริ่มงานก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตามความเรียกร้องของราษฎรไปก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 2482เป็นต้นมาที่ตั้งที่ทำการชลประทานครั้งแรกในภูมิภาคนี้อยู่ที่ถนนโพธิ์กลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ทำการของโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาลำตะคอง ระยะแรกได้เริ่มก่อสร้างโครงการชลประทานขึ้นพร้อมกันจำนวน 8 โครงการแยกเป็นโครงการชลประทานประเภทเหมืองฝาย 5 โครงการ ได้แก่ โครงการลำตะคอง , โครงการทุ่งสัมฤทธิ์ จังหวัดนครราชสีมา, โครงการห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ , โครงการห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี , โครงการห้วยน้ำหมาน จังหวัดเลยและเป็นโครงการชลประทานประเภทคันกั้นน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการบ้านตูม – บ้านติ้ว จังหวัดมหาสารคาม , โครงการทุ่งแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด และโครงการลุ่มน้ำโขง จังหวัดหนองคาย โดยมีพระธุระนทีทด ( พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2485 ) , นายเฉลียว ทองอุทัย ( พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2490 ) และนายจันทร์ วิเชียรทวี ( พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2493 ) ทำหน้าที่หัวหน้าโครงการก่อสร้างอีสาน ตามลำดับ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้งานก่อสร้างทั้ง 8 โครงการดังกล่าวต้องชะลอไว้ยังไม่แล้วเสร็จ
                  หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้ว ในปี พ.ศ. 2494 กรมชลประทานได้เริ่มงานก่อสร้างโครงการชลประทาน ประเภทอ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เนื่องจาก โครงการ ชลประทานประเภทนี้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค – บริโภค และการเกษตรกรรมของราษฎรได้ นายจำลอง อัตถโน เป็นบุคคลแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กรมชลประทานส่งมาดำรงตำแหน่งนายช่างพิเศษ ชลประทาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ( ชพด. ) ในช่วง พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2509 ทำให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างจริงจัง กระจายไปทั่วทั้งภาคเริ่มแต่บัดนั้น เป็นต้นมางานก่อสร้างโครงการชลประทานประเภทเหมืองฝายและประเภทคัน กั้นน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยทั้ง 8 โครงการ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ในช่วงนี้
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์
       รายละเอียดเพิ่มเติม >>
- เขื่อนพิมาย  ตั้งอยู่ที่ ต.ในเมือง อ.พิมาย เป็นเขื่อนทดน้ำ - ระบายน้ำในลำน้ำมูล ช่วยเหลือพื้นที่ชลประทาน 152,931 ไร่ ครอบคลุม 3 อำเภอ บางส่วนมี อ.พิมาย , อ.ชุมพวง และ อ.โนนสูง เขื่อนทุ่งสัมฤทธิ์ (เขื่อนพิมาย) เป็นเขื่อนปิดกั้นลำน้ำมูลที่ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ทำการก่อสร้างระหว่างปี 2482-2496 มีระดับเก็บกักเหนือสันฝาย +152.00 ม.(รทก.) ส่งน้ำเข้าพื้นที่ชลประทานโดยแรงโน้มถ่วงฝั่งซ้ายของแม่น้ำมูล  ในฤดูฝนสามารถ เพาะปลูกได้เต็มโครงการ ส่วนในฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำมีน้อยมาก
- ไทรงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย โดยก่อนข้ามสะพานท่าสงกรานต์เข้าตัวอำเภอพิมาย จะมีทางแยกไปเขื่อนพิมายอีกประมาณ 2 กิโลเมตร บรรยากาศไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่อายุประมาณ 350 ปี แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ประมาณ 15,000 ตารางฟุต ซึ่งมีชื่อเสียงรู้จักกันมานานตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิมายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2454 และได้พระราชทานนามว่า "ไทรงาม"