วิวัฒนาการของการชลประทานในประเทศไทย

สมัยกรุงสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงสร้างเขื่อนดินแห่งหนึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สำหรับเก็บกักน้ำในลำธารที่มีมากในฤดูฝน โดยได้ ระบายน้ำที่ เขื่อนเก็บกักไว้ออกไปให้พื้นที่เพาะปลูกรอบ ๆ เมื่อในระยะ ที่ฝนไม่ ตกและในหน้าแล้งเป็นการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำใช้สำหรับการเพาะปลูกของพื้นที่ส่วนหนึ่งได้เป็นอย่างดี

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ประมาณ พ.ศ. 2176 สมเด็จกระเจ้าปราสาททองได้ทรงสร้าง เขื่อนเก็บกักน้ำธารทองแดง เพื่อเก็บกักน้ำ ไว้สำหรับใช้รดต้นไม้ และสำหรับอุปโภค-บริโภค ในบริเวณ พระราชนิเวศน์ธารเกษมที่ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2204 สมเด็จพระนารายณ์ มหาราชได้ทรงสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำที่ห้วยซับเหล็กอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเก็บกักน้ำไว้สำหรับการเพาะปลูกและการอุปโภค-บริโภค ที่เมืองลพบุรี นอกจากนี้ ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้มีการ ขุดคลองเชื่อม แม่น้ำสายต่าง ๆ ใน บริเวณทุ่งราบภาคกลาง เพื่อประโยชน์ในด้านคมนาคม และเพื่อให้น้ำจากแม่น้ำ กระจายเข้าไปสู่พื้นที่เพาะปลูกให้ราษฎรได้วิดสาดขึ้นไปใช้ในการปลูกข้าวตามบริเวณสองฝั่งลำน้ำเหล่านั้นด้วย

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ได้มีการขุดคลองเชื่อมทางน้ำและแม่น้ำต่าง ๆ ในบริเวณทุ่งราบภาคกลางเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีทางน้ำ สำหรับน้ำเข้าไปยังพื้นที่เพาะปลูกได้มากยิ่งขึ้นเมื่อน้ำใน แม่น้ำลำ คลองมีระดับสูงจะไหลล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ เพาะปลูกได้เอง หรือราษฎรอาจวิดสาดขึ้นไป ราษฎรในสมัย นั้นจึงได้รับประโยชน์จากคลองที่ขุดไว้เป็นอย่างมาก ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาการชลประทานมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

ความหมายชลประทาน

 ความหมายของการชลประทาน

"การชลประทาน" หมายความว่า "กิจการที่รัฐบาลจัดทำเพื่อส่งน้ำ จากทางน้ำหรือแหล่งน้ำไปใช้ ในการเพาะปลูก และหมายความถึงการป้องกันการเสียหายแก่การเพาะปลูกอันเกี่ยวกับน้ำ ทั้งรวมถึงการคมนาคมทางน้ำ ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานนั้นด้วย" ซึ่งจะเห็นว่า การชลประทานในพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ นอกจาก จะหมายถึง การส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกแล้ว ยังให้หมายรวมถึงกิจการประเภทอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก อีก 3 ประเภท คือ การเก็บน้ำ การระบายน้ำและการบรรเทาอุทกภัยด้วย.......ส่วนความหมายในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง ยังมีการคมนาคมทางน้ำ เพิ่มขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์ของการชลประทาน

1.การเก็บน้ำ (Storage of Water หรือ Water Conservation)

2.การส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก (Irrigation)

3.การระบายน้ำ (Drainage)

4.การแปรสภาพที่ดิน (Land Reclamation)

5.การบรรเทาอุทกภัย (Flood Control)

6.การไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power)

7.การคมนาคมทางน้ำ (Inland Navigation)

ความสำคัญของชลประทาน

โดยเหตุที่น้ำเป็นปัจจัยจำเป็นยิ่งต่อการเพาะปลูก ในฤดูฝนเราจะพบพืชน้อยใหญ่มีการเจริญงอกงามดี เพราะว่าพืชได้รับน้ำจากฝนมีปริมาณมากเพียงพอตามที่พืชต้องการ เมื่อฝนไม่ตกหรือในฤดูแล้ง พืชขาดน้ำจะเหี่ยวเฉาและไม่เจริญงอกงามตามที่ควร ซึ่งเป็นเหตุให้ผลผลิตลดลง ดังเป็นที่ทราบกันดีแล้ว เราจึงจำเป็นต้องจัดหาน้ำให้กับต้นไม้หรือพืชที่ปลูกในเวลาที่ฝนไม่ตก เมื่อสามารถกระทำได้เสมอ หรือทำการชลประทานให้

จึงกล่าวได้ว่า ในบรรดางานพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการด้านต่าง ๆ นั้น งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการชลประทานจัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์มากด้านหนึ่งในการช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้เกษตรกรอันเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้มีหลักประกันในเรื่องน้ำสำหรับทำการเพาะปลูกอย่างไม่ขาดแคลน

ในปัจจุบันยังมีพื้นที่เพาะปลูกอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำลำธารเป็นหลัก เพราะยังไม่มีงานด้านชลประทานเข้าไปช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าว ซึ่งอาศัยน้ำธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวในการเพาะปลูกจะทำให้พืชไม่อาจได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอตามที่พืชต้องการได้ กล่าวคือ ปีใดมีฝนตกเฉลี่ยดีตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับผลดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากปีใดมีฝนตกน้อยหรือไมมีฝนตกในเวลาที่พืชต้องการ ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับความเสียหายหรือไม่ได้รับผลผลิตดีเท่าที่ควร จึงเป็นเหตุให้เกษตรกรจำนวนมากที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานต้องได้รับความเดือดร้อนในเวลาไม่มีน้ำสำหรับทำนาและปลูกพืชไร่อยู่เสมอเกือบทุกปี

ด้วยเหตุนี้พื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในเขตโครงการชลประทานแล้วสามารถทำการชลประทานช่วยเหลือได้ ย่อมจะมีน้ำส่งไปให้พื้นที่เพาะปลูกในเวาลาที่ได้รับน้ำจากธรรมชาติน้อยได้ตามที่ต้องการเสมอ ซึ่งความสำคัญและประโยชน์ของการชลประทานในด้านต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชและต้นไม้ สำหรับปลูกข้าว จะช่วยให้แปลงนาได้รับน้ำพอเพียงตามที่ต้นข้าวต้องการ

2. สามารถให้หลักประกันได้เป็นอย่างดีว่า พืชต่าง ๆ ที่ปลูกจะไม่ขาดน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก

3. ช่วยให้พื้นดินและบรรยากาศทั่วบริเวณพื้นที่เพาะปลูกเย็นในขณะที่อากาศร้อนจัด

4. ช่วยให้ดินมีความอ่อนนุ่มดี และง่ายต่อการไถพรวน

5. ช่วยเพิ่มน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกเพื่อการชะล้างหรือละลายเกลือออกไปจากดินได้

6. ช่วยให้เกษตรสามารถปลูกพืชได้หลายครั้งต่อปี

ประเภทโครงการชลประทาน

โครงการชลประทานขนาดใหญ่

มีลักษณะเป็นงานชลประทานอเนกประสงค์ที่สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การอุปโภคบริโภค การบรรเทาอุทกภัย การอุตสาหกรรม การผลิตกระแส ไฟฟ้าจากพลังน้ำ การคมนาคม แหล่งเพาะพันธุ์ประมงน้ำจืด แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และอื่น ๆ ในแต่ละโครงการมีงานก่อสร้างหลายประเภท เช่น เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนหรือ ฝายทดน้ำ การสูบน้ำ ระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบชลประทานในแปลงนา ถ้าเป็นการก่อสร้าง ประเภทเขื่อนเก็บกักน้ำ สามารถเก็บกักน้ำได้มากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตร หรือมีพื้นที่ชลประทานมากกว่า 80,000 ไร่

โครงการชลประทานขนาดกลาง

เป็นโครงการชลประทานที่มีขนาดเล็กกว่าโครงการชลประทานขนาดใหญ่โดยจะต้องเป็นโครงการที่มีการจัดทำ รายงานความเหมาะสมแล้ว มีปริมาตร เก็บกักน้ำน้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เก็บกักน้ำน้อยกว่า 15 ตารางกิโลเมตร หรือมีพื้นที่ชลประทานน้อยกว่า 80,000 ไร่ ซึ่งจะเป็นงานก่อสร้างอาคารชลประทานประเภทต่าง ๆ อาทิ เขื่อนเก็บกักน้ำ เขื่อนทดน้ำ ฝาย โรงสูบน้ำ ระบบส่งน้ำและระบายน้ำ ฯลฯ รวมทั้งงานก่อสร้างทางลำเลียงผลผลิตและ งานแปรสภาพลำน้ำ

โครงการชลประทานขนาดเล็ก

เป็นงานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ที่กรมชลประทานได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เพื่อแก้ปัญหาหรือบรรเทา ความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และการเกษตร ซึ่งเป็น ความจำเป็นขั้นพื้นฐานของราษฎรในชนบท หรือพื้นที่ที่ห่างไกล รวมทั้งการแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัย และน้ำเค็มที่ขึ้นถึงพื้นที่เพาะปลูก โดยการก่อสร้าง อาคารชลประทานขนาดเล็ก ประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและปัญหาที่เกิดขึ้นตามความต้องการของ ราษฎร

อาคารชลประทาน

อาคารของคลองส่งน้ำ

นอกจากคลองส่งน้ำของโครงการชลประทาน ซึ่งได้แก่ คลองส่งน้ำสายใหญ่ คลองซอย และคลองแยกซอยแล้ว ตามคลองส่งน้ำทุกสายยังจะต้องสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นแห่ง ๆ แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อให้ระบบส่งน้ำสามารถส่งน้ำไปให้กับพื้นที่เพาะปลูกตลอดคลองในเขตโครงการชลประทานที่ต้องการได้ อาคารของคลองส่งน้ำมีหลายประเภทหลายลักษณะ และมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งจะกล่าวถึงเฉพาะสำหรับอาคารที่สำคัญ ๆ เท่านั้น ดังต่อไปนี้

1. ประตูหรือท่อปากคลองซอยและคลองแยกซอย ที่ต้นคลองซอยซึ่งแยกออกจากคลองส่งน้ำสายใหญ่ และคลองแยกซอยซึ่งแยกออกจากคลองซอย จะต้องสร้างอาคารไว้สำหรับควบคุมน้ำให้ไหลเข้าคลองส่งน้ำตามจำนวนที่ต้องการ หากคลองซอยหรือคลองแยกซอยมีขนาดใหญ่ และต้องส่งน้ำไปตามคลองจำนวนมาก ก็จะนิยมสร้างอาคารควบคุมน้ำซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนกับประตูปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ ส่วนคลองซอยหรือคลองแยกซอยที่มีขนาดเล็ก ก็จะนิยมสร้างอาคารที่คลองเหล่านั้นเป็นแบบท่อ โดยที่ปากทางเข้าของท่อจะติดตั้งบานประตูไว้สำรหับควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านท่อด้วย

2. ท่อเชื่อม เป็นท่อที่สร้างเชื่อมระหว่างคลองส่งน้ำสำหรับนำน้ำจากคลองส่งน้ำที่อยู่ทางฝั่งหนึ่งของลำน้ำธรรมชาติ หรือถนน ให้ไหลไปในท่อที่ฝังลอดใต้ลำน้ำหรือถนนไปยังคลองส่งน้ำที่อยู่ทางฝั่งหนึ่ง ท่อเชื่อมส่วนใหญ่จะสร้างเป็นท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่จะมีรูปร่างกลมหรือสี่หลี่ยม และจะสร้างเป็นแพวเดียวหรือหลายแถวนั้น ก็ต้องให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่จะให้ไหลผ่านท่อ

3. สะพานน้ำ เป็นทางน้ำสำหรับนำน้ำจากคลองส่งน้ำที่อยู่ทางด้านหนึ่งของลำน้ำธรรมชาติ ที่ลุ่ม หรือลาดเชิงเขา ข้าไปหาคลองส่งน้ำที่อยู่อีกทางด้านหนึ่ง สะพานน้ำจะมีลักษณะเป็นรางน้ำเปิดธรรมดา หรือรางน้ำปิดแบบท่อ โดยวางอยู่บนตอม่อ หรือฐานรองรับทอดข้ามลำน้ำธรรมชาติ ท่ลุ่ม หรือวางไปตามลาดเชิงเขา ปากทางเข้าและปากทางออกของสะพานน้ำจะเชื่อมกับคลองส่งน้ำ ซึ่งเมื่อน้ำไหลออกจากสะพานน้ำแล้วก็จะไหลต่อไปในคลองส่งน้ำได้ตามปกติ

4. น้ำตก เนื่องด้วยคลองส่งน้ำบางสายอาจจะมีแนวไปตามสภาพภูมิประเทศ ซึ่งผิวดินตามธรรมชาติมีความลาดเทมากกว่าความลาดเทของคลองส่งน้ำที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องลดระดับท้องคลองส่งน้ำให้ต่ำลงในแนวดิ่งบ้างเป็นแห่ง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ที่แนวคลองส่งน้ำผ่านในบริเวณที่คลองส่งน้ำเปลี่ยนระดับต่ำลงนี้ จำเป็นต้องมีอาคารสำหรับบังคับน้ำที่ไหลมาตามคลองส่งน้ำที่อยู่ในแนวบนให้ไหลตกลงมาที่อาคารตอนล่างเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คลองส่งน้ำที่อยู่ในแนวล่างต้องชำรุดเสียหายเนื่องจากความแรงของน้ำที่ไหลตกลงมานั้น โดยเรียกอาคารดังกล่าวนี้ว่า "น้ำตก"

5. รางเท เป็นอาคารสำหรับนำน้ำจากคลองส่งน้ำที่อยู่ในแนวบนให้ลงมายังคลองส่งน้ำที่อยู่ในแนวล่างเหมือนกับน้ำตก แต่แตกต่างกันที่รางเทนั้นจะมีน้ำไหลมาตามรางหรือท่อ ซึ่งวางลาดเอียงไปตามสภาพภูมิประเทศ เป็นระยะทางไกลจึงจะถึงอ่างรับน้ำและคลองส่งน้ำที่อยู่ในแนวล่างนั้น

6. อาคารอัดน้ำ การส่งน้ำออกจากคลองส่งน้ำไปให้พื้นที่เพาะปลูกเป็นระยะ ๆ ตลอดแนวที่คลองส่งน้ำผ่าน จะทำให้ปริมาณน้ำไหลในคลองเหลือน้อยลง และเป็นเหตุให้ระดับน้ำในคลองส่งน้ำต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้การส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกต่อไปไม้ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมระดับน้ำในคลองส่งน้ำให้สูงอยู่เสมอด้วยอาคารอัดน้ำ เพื่อทำหน้าที่ทดอัดน้ำในคลองให้สูงเป็นช่วง ๆ ไป โดยที่ไม่ว่าน้ำในคลองจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงร ก็จะต้องถูกทดอัดให้มีระดับสูงจนสามารถส่งน้ำได้ดีทุกเวลาที่ต้องการ อาคารอัดน้ำในคลองส่งน้ำจึงมีหน้าที่เหมือนกับอาคารทดน้ำจากแหล่งน้ำที่ต้นน้ำของโครงการชลประทาน จะต่างกันที่อาคารอัดน้ำในคลองนั้นมักมีขนาดเล็กกว่า และจะสร้างให้มีขนาดที่สามารถระบายน้ำปริมาณสูงสุดของคลองส่งน้ำได้เท่านั้น

7. ท่อส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก เป็นอาคารซึ่งสร้างที่คลองส่งน้ำ ทำหน้าที่จ่ายน้ำและควบคุมน้ำที่จะส่งออกจากท่อสร้างไปให้พื้นที่เพาะปลูก ตลอดแนวคลองส่งน้ำจะมีท่อส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกที่สร้างไว้เป็นระยะ ๆ ตามตำแหน่ง ซึ่งสามารถส่งน้ำออกไปได้สะดวกและทั่วถึง ท่อส่งน้ำแต่ละแห่งจะสามารถส่งน้ำชลประทานให้กับพื้นที่เพาะปลูกได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกที่ท่อส่งน้ำทุกแห่งส่งไปให้ได้ จะเป็นพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดที่คลองส่งน้ำนั้น ๆ ควบคุมอยู่

8. ท่อระบายน้ำลอดใต้คลองส่งน้ำ ในกรณีที่คลองส่งน้ำตัดผ่านร่องน้ำขนาดเล็กและบริเวณพื้นที่ เช่น ที่ลุ่ม ซึ่งมีน้ำไหลมาตามธรรมชาติน้อย มักจะนิยมสร้างอาคารแบบท่อเพื่อระบายน้ำให้ลอดใต้ท้องคลองส่งน้ำไป โดยไม่สร้างท่อเชื่อมระหว่างคลองส่งน้ำลอดใต้ร่องน้ำหรือที่ลุ่ม เนื่องจากมีราคาแพงกว่า

คลองส่งน้ำ

คลองส่งน้ำเป็นทางน้ำสำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นต้นน้ำของโครงการชลประทานไปยังพื้นที่เพาะปลูก โดยน้ำจากแหล่งน้ำจะกระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูกได้ทั่วถึงด้วยคลองต่าง ๆ ที่มีในเขตโครงการชลประทานนั้น คลองส่งน้ำแต่ละสาย จะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก ยาวหรือสั้น ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่เพาะปลูกที่คลองสายนั้น ๆ ควบคุมอยู่ และจำนวนคลองส่งน้ำทั้งหมดก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ชลประทานในเขตโครงการนั้นด้วย

คลองส่งน้ำที่เริ่มต้นจากแหล่งน้ำที่ต้นน้ำของโครงการชลประทานเรียกว่า "คลองส่งน้ำสายใหญ่" คลองส่งน้ำสายใหญ่เป็นคลองสำหรับนำน้ำไปใช้ในเขตโครงการทั้งหมด จึงมีขนาดใหญ่กว่าคลองส่งน้ำสายอื่น โครงการชลประทานแห่งหนึ่ง ๆ อาจมีคลองส่งน้ำสายใหญ่ได้หลายสาย ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ขนาดและขอบเขตของโครงการที่กำหนดไว้ ในกรณีที่จะส่งน้ำผ่านเขื่อนเก็บกักน้ำเข้าคลองส่งน้ำโดยตรง คลองส่งน้ำสายใหญ่จะต่อจากปลายท่อปากคลองส่งน้ำท้ายเขื่อนเก็บกักน้ำ ส่วนโครงการเขื่อนทดน้ำจะสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่ต่อจากบริเวณท้ายประตู หรือท่อปากคลองส่งน้ำซึ่งสร้างอยู่หน้าเขื่อนทดน้ำออกไป

คลองส่งน้ำที่สร้างแยกจากคลองส่งน้ำสายใหญ่จะมีขนาดเล็กลงมา เรียกว่า "คลองซอย" คลองซอยทำหน้าที่นำน้ำส่งไปยังพื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งของคลองนั้น คลองส่งน้ำสายใหญ่อาจมีคลองซอยออกไปได้หลายสายตามความเหมาะสม คลองส่งน้ำที่สร้างแยกจากคลองซอยจะมีขนาดเล็กลงไปอีก เรียกว่า "คลองแยกซอย" การมีคลองแยกซอยเพิ่มขึ้นจะทำให้ส่งน้ำได้แพร่กระจายทั่วทั้งเขตโครงการดีขึ้น ซึ่งคลองซอยสายหนึ่งอาจมีคลองแยกซอยได้หลายสาย และที่คลองแยกซอยอาจมีคลองส่งน้ำขนาดเล็ก ๆ เป็นคลองแยกซอยแยกออกไปอีกก็ได้

คลองส่งน้ำทุกสายไม่ว่าจะเป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ คลองซอย หรือคลองแยกซอย จะมีแนวคลองไปตามพื้นที่สูงที่สุดของบริเวณที่จะส่งน้ำให้เสมอ เพื่อที่ว่าเมื่อส่งน้ำออกจากคลองแล้วจะได้ไหลลงสู่ที่ต่ำได้สะดวกและทั่วถึง คลองส่งน้ำสายใหญ่เป็นคลองส่งน้ำสายประธานจึงมีแนวลัดเลาะไปตามชายเนิน ส่วนคลองซอยและคลองแยกซอยจะมีแนวไปตามสันเนิน ทำให้คลองซอยและคลองแยกซอยทุกสายสามารถส่งน้ำให้พื้นที่ทั่วไปส่วนใหญ่ได้ ซึ่งจำนวนพื้นที่ส่งน้ำทั้งหมดของโครงการชลประทานจะเป็นผลรวมของพื้นที่ส่งน้ำจากคลองซอยและคลองแยกซอยทั้งหมด กับพื้นที่ส่งน้ำจากคลองส่งน้ำสายใหญ่

คลองส่งน้ำที่สร้างผ่านพื้นที่ดิน ซึ่งน้ำรั่วซึมได้น้อย จะสร้างเป็นคลองดินธรรมดา เพราะมีราคาถูก แต่ถ้าสร้างในภูมิประเทศที่มีดินเป็นดินปนทรายจะทำให้มีน้ำรั่วซึ่งสูญหายไปจากคลองมาก จำเป็นต้องหาวิธีการป้องกันไม่ให้น้ำสูญหายไปจากคลอง เช่น ดาดคลองด้วยคอนกรีต เป็นต้น

วิธีการส่งน้ำ

การให้น้ำแบบฉีดฝอย (Sprinkler Irrigation)

คือการให้น้ำโดยการฉีดน้ำออกจากหัวขึ้นไปบนอากาศแล้วให้เมล็ดน้ำ ตกลงมาบนแปลงเพาะปลูก โดยมีรูปทรงการแผ่กระจายของเมล็ดน้ำสม่ำเสมอโดยมีลักษณะเช่นเดียวกับฝน บางครั้งเรียกว่า การให้น้ำแบบฝนโปรย

การให้น้ำทางผิวดิน (Surface Irrigation)

คือการให้น้ำโดยการให้น้ำนั้นขังหรือไหลไปบนผิวดินและซึมลงไปในดินตงจุดที่น้ำนั้นขังหรือไหลผ่าน ดังนั้นอาจถือว่าผิวดินเป็นทางน้ำ ทางน้ำนั้นมีหลายขนาดแตกต่างกันไป และเมื่อพิจารณาตามลักษณะของทางน้ำแล้วสามารถแบ่งการให้น้ำทางผิวดินได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบให้น้ำท่วมเป็นผืน และ แบบให้น้ำท่วมในร่องคู

การให้น้ำทางใต้ดิน (Subsurface Irrigation)

คือการให้น้ำแก่พืชโดยการยกระดับน้ำใต้ดินขึ้นมาให้สูงพอที่น้ำจะไหลซึมขึ้นมาสู่ระดับเขตรากได้ วิธีการเพิ่มระดับใต้ดินอาจทำได้ 2 แบบ คือ โดยการให้น้ำในคู และการให้น้ำไหลเข้าในท่อซึ่งฝังไว้ในดิน แต่ที่นิยมกัน คือ วิธีการให้น้ำในคู คูดังกล่าวจะขุดขึ้นตามเส้นขอบเนินโดยให้ระยะห่างระหว่างคูไม่ห่างกันมากนัก เพื่อที่ว่าน้ำจะไหลซึมเข้าไปในดินและระบายออกได้อย่างรวดเร็วเมื่อสิ้นสุดการให้น้ำ คูนี้จะเชื่อมต่อกับคูส่งน้ำที่ซึ่งมีอาคารชลประทานคอยควบคุมระดับน้ำในคูทั้งสองให้อยู่ในระดับที่ต้องการ

การให้น้ำแบบหยด (Trickle Irrigation)

คือการให้น้ำแก่พืชที่จุดใดจุดหนึ่งหรือหลาย ๆ จุดบนผิวดินหรือในเขตรากพืช โดยอัตราการให้นั้นไม่มากพอที่จะทำให้ดินในเขตรากเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้าง แต่จะทำให้ดินมีแรงดึงความชื้นต่ำอยู่

วัฎจักรน้ำ

วัฏจักรของน้ำ คือ การเกิดและการหมุนเวียนของน้ำที่อยู่ในโลกนั่นเอง การหมุนเวียนของน้ำเป็น Cycle อาจเริ่มนับได้จากมหาสมุทร เมื่อน้ำระเหยจาก มหาสมุทรไปสู่บรรยากาศ เป็นไอน้ำแล้ว ความแปรปรวน ของลมฟ้าอากาศจะทำให้เกิด ฝนตกลงสู่ผิวโลก ในทะเลบ้าง บนผิวดินบ้าง น้ำฝนที่ตกบนดินก็จะเกิดการสูญเสียดูดซึม ลงดินเสียเป็นส่วนใหญ่ และด้วยเหตุอื่นบ้างเล็กน้อย เช่น ระเหย ขังในที่ลุ่ม พืชดูดไปใช้ ส่วนที่เหลือก็จะไหลเป็นน้ำท่าลงแม่น้ำลำธารออกทะเล ส่วนที่ซึมลงดินนั้นก็จะค่อย ๆ ซึมออกสู่แม่น้ำลำธาร และไหลออกทะเลไปเช่นกัน แต่อาจช้ากว่ามากซึ่งจะเห็นได้ว่าสุดท้าย น้ำจะระเหยกลายเป็นไอสู่บรรยากาศ วัฏจักรของน้ำจึงไม่มีเริ่มต้นไม่มีที่สิ้นสุด หมุนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา ปริมาณในขั้นตอนต่างๆ นั้นอาจผันแปรมากน้อยได้เสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ควบคุม ในขั้นตอนเหล่านั้น

ความชื้นในบรรยากาศ (Atmospheric Moisture)

ความชื้นทุกชนิดที่มนุษย์เกี่ยวข้องอยู่โดยทางปฎิบัติ สันนิษฐานว่าเริ่มต้นมาจากความชื้นในบรรยากาศ ที่เป็นจุดเริ่มต้น ที่จะสะดวกในการตามหาเส้นทางวัฏจักรของน้ำให้ครบวงจร ความชื้นในบรรยากาศ เพราะกระบวนการระเหยจากดินหรือผิวดิน เมฆและหมอกเกิดขึ้นโดยการกลั่นตัวของไอน้ำที่เกาะตัวบนอณูเล็กๆ ในบรรยากาศ เช่น อนุภาคของเกลือหรือฝุ่น

หยาดน้ำฟ้า (Precipitation)

เมื่อไอน้ำในอากาศถูกความเย็นทำให้เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ เมื่อรวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ พวกมัน ก็จะตกลงมาในรูปของ "ฝน" ถ้าเม็ดฝนนั้นตกผ่านโซน ต่างๆ ของอุณหภูมิ เช่น อุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ก็จะกลายเป็นลูกเห็บ ถ้าการกลั่นตัวนั้นเกิดขึ้นในที่ซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมันก็จะก่อตัวเป็นหิมะ ถ้าการกลั่นตัวของน้ำ เกิดขึ้นโดยตรงบนผิวพื้นที่เย็นกว่าอากาศ ก็จะเกิดเป็นได้ทั้งน้ำค้างแข็ง ขึ้นอยู่กับว่า อุณหภูมิของพื้นผิวนั้นสูง หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

การซึมลงดิน (Infiltration)

ฝนหรือหิมะที่ละลายในตอนแรกมีแนวโน้มที่จะเติมความชื้นให้กับผิวดินก่อน จากนั้นก็จะเคลื่อนเข้าสู่ช่องว่าง ที่มีอยู่ในเนื้อดิน กระบวนการนี้เรียกว่าการซึมน้ำผ่านผิวดิน (Infitration) สัดส่วนต่าง ๆ ของน้ำก็จะถูกจัดการต่างกันไป ตามลักษณะช่องเปิดของผิวดิน อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ในดินก่อนหน้านั้นแล้ว ถ้าหากผิวดินจับตัวแข็ง หรืออิ่มน้ำอยู่ก่อนแล้ว มันก็จะรับน้ำใหม่เข้าไปเพิ่มได้เพียงเล็กน้อยน้ำทั้งหมดก็จะถูดดูดซึม บางส่วนจะไหลซึมลงไป เป็นส่วนของน้ำใต้ดิน บางส่วนถูกพืชดูดไปใช้ประโยชน์แล้วคายระเหย คืนสู่บรรยากาศ บางส่วนถูกบังคับให้ระเหย ไปด้วย แรงยึดเหนี่ยว (Capillary) ของช่องว่างในดิน ในภูมิประเทศที่มีความลาดเท และชั้นผิวดินบาง น้ำที่ถูกดูดซึม อาจไหลย้อนสู่ผิวดินได้ โดยการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เรียกว่าน้ำไหลใต้ผิวดิน (Sub-surface runoff)

การไหลของน้ำบนผิวดิน(Surface Runoff)

เมื่อน้ำฝนที่ตกลงมามีมากเกินกว่าจะไหลซึมลงในดินได้หมด ก็จะกลายเป็นน้ำบ่า หน้าดินหรือน้ำท่า เมื่อมันไหลไปเติมพื้นผิวที่เป็นแอ่งลุ่มต่ำจนเต็มแล้ว มันก็จะไหลไปบนผิวดินต่อไป จนไปบรรจบกับระบบร่องน้ำในที่สุด แล้วก็ไหลตามเส้นทางของลำน้ำ จนกระทั่งลงสู่มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำ ในแผ่นดินบางแห่งในระหว่างทางนี้มันก็จะสูญเสียไปด้วยการระเหยสู่บรรยากาศ และการไหลซึมลงตามของตลิ่งและท้องน้ำ ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเป็นไปได้ ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 % ของจำนวนทั้งหมด

การระเหย(Evaporation)

น้ำในสถานะของเหลว เมื่อถูกความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือแหล่งอื่นจะเปลี่ยนไปสู่สถานะก๊าซหรือเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า"การระเหย"

การคายน้ำของพืช(Transpiration)

หน้าที่พื้นฐานอย่างหนึ่งในกระบวนการดำเนินชีวิตของพืช ก็คือการนำเอาน้ำจากในดินผ่านเข้ามาทางระบบราก ใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตและการดำรงชีพ น้ำจะถูกปล่อยคืนสู่บรรยากาศ ทางรูพรุน ที่ปากใบในรูปของไอน้ำ กระบวนการคืนความชื้นของดินให้แก่บรรยากาศนี้เรียกว่า การคายน้ำ (transpiration) ปริมาณของหยดน้ำฟ้าที่กลับคืนสู่บรรยากาศนี้จะมากน้อยต่างกันไปตามลักษณะของพืชและความชื้นที่มีอยู่บริเวณระบบรากของมัน

ปัญหาเรื่องน้ำ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำ

สาเหตุ การขาดแคลนน้ำ

1. ใช้น้ำฟุ่มเฟือย

2. ขาดการอนุรักษ์อย่างจริงจัง

3. ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

4. แหล่งน้ำธรรมชาติถูกบุกรุกและตื้นเขิน

5. ความต้องการเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร

6. แหล่งเก็บกักน้ำไม่เพียงพอ

7. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากน้ำ

ปัญหาน้ำท่วม

สาเหตุน้ำท่วม

1. ฝนตกหนัก

2. สภาพท้องที่เป็นที่ลุ่ม

3. ป่าไม้ถูกทำลาย

4. ขาดแหล่งเก็บกักน้ำทางต้นน้ำ

5. ทางระบายน้ำไม่สะดวก

ปัญหาน้ำเสีย

สาเหตุน้ำเสีย

1. การทำนาเกลือ

2. น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปที่ไม่บำบัด

3. น้ำเสียจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

4. น้ำเสียจากสถานบริการ

การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ

การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ

1. การหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม (ด้าน Supply)

1.1 จากน้ำในบรรยากศ เช่น โครงการฝนหลวง

1.2 จากน้ำผิวดิน เช่น การก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำฝายทดน้ำขุดลอกหนองบึง สระน้ำในไร่นา

1.3 จากน้ำใต้ดิน เช่น การสูบน้ำใต้ดินมาใช้ใน โครงการพัฒนาน้ำใต้ดิน สุโขทัย และการทำเขื่อนใต้ดิน ที่จังหวัดภูเก็ต

2. การจัดเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรน้ำให้ดีขึ้น

2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพและระบบชลประทานเช่นการดาดคอนกรีตคลองเพื่อลดการรั่วซึมการปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการวางแผนการส่งน้ำ

2.2 การลดความต้องการสูญเสียในระบบ ส่งน้ำต่างๆเช่นระบบท่อประปา

2.3 การลดความต้องการใช้น้ำโดยการ ประหยัดน้ำเช่นในภาคเกษตรให้เปลี่ยนการปลูกพืชจากพืชที่ใช้น้ำมากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ได้แก่

1. การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ทางต้นน้ำ เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากไว้ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันอุทกภัยแล้ว ยังสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ ในหน้าแล้งได้อีกด้วย

2. การสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันพื้นที่ชุมชน หรือพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง วิธีนี้แม้จะช่วยป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เป้าหมายได้ แต่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งต้องรับปริมาณน้ำมากขึ้นกว่าเดิม และทำให้ระดับน้ำในลำน้ำสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย

3. การระบายน้ำเข้าไปเก็บกักในพื้นที่ลุ่มต่ำ วิธีนี้จะคล้ายกับสภาพธรรมชาติที่เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น น้ำจะไหลแผ่กระจายเข้าสู่ที่ลุ่มต่าง ๆ หากสามารถหาพื้นที่ลุ่มเพื่อ 4. เพิ่มทางผันน้ำออกสู่ทะเลให้มากขึ้น ได้แก่การเพิ่มทางระบายน้ำลงสู่ทะเล ทั้งโดยการใช้ระบบคลองระบาย ที่มีอยู่ หรือการขุดคลองขนาดใหญ่ขึ้นใหม่ เพื่อให้มีความสามารถในการระบายน้ำได้มากขึ้น

5. การสูบน้ำออกจากพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำที่ไหลออกสู่ทะเลให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มความเร็ว แรงน้ำโดยการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ

6. การสร้างแหล่งเก็บกักน้ำและระบายน้ำออกให้สอดคล้องกับการขึ้นลงของน้ำทะเล หรือการดำเนินการ ตามโครงการแก้มลิง

7. การสร้างประตูระบายปิดกั้นน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำเพื่อลดอิทธิพลของน้ำทะเลหนุน